แผนพัฒนาระบบสารสนเทศ

 

 

 

 

 

 

 

สำนักคอมพิวเตอร์         

มหาวิทยาลัยทักษิณ

 

ประจำปีงบประมาณ 2557

 

 

 

 

คำนำ

สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพ มาตรฐานการศึกษาของมหาวิทยาลัยให้เป็นที่ยอมรับของสังคมและสามารถแข่งขันได้ ในระดับประเทศและระดับนานาชาติที่ถือเป็นนโยบายของปฏิรูประบบการศึกษาที่มีผลต่อการพัฒนามหาวิทยาลัยด้านต่างๆ นั้นที่สิ่งที่ถือว่าเป็นกลไกของการบริหารจัดการที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ทุกมหาวิทยาลัยจะต้องมีแผนการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมกล่าวคือ แผนพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่องานบริการด้านการเรียนการสอนและการบริหารงานประจำปี 2557 ฉบับนี้จะช่วยส่งเสริมและใช้เป็นเครื่องมือในการกำหนดทิศทางการปฏิบัติและพัฒนาด้านระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัย เป็นแนวทางให้ผู้พัฒนาระบบได้นำไปใช้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศที่จะก่อให้เกิดประโยชน์เพื่อให้การดำเนินงานของมหาวิทยาลัยมีประสิทธิภาพต่อไป

 

 

 

                                                                                                            สำนักคอมพิวเตอร์
                                                                                                                            มหาวิทยาลัยทักษิณ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ส่วนที่ 1

 บทนำ

ข้อมูลพื้นฐานหน่วยงาน

สำนักคอมพิวเตอร์  มหาวิทยาลัยทักษิณ

สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นหน่วยงานบริการทางวิชาการ มีฐานะเทียบเท่าคณะทำหน้าที่ให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนและการวิจัยเพื่อให้มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยอิเล็กทรอนิกส์ ในด้านการบริหารจัดการ การเรียนการสอน การวิจัยและการบริการวิชาการแก่สังคม เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะและภารกิจของมหาวิทยาลัย ทั้งนี้เพื่อให้มหาวิทยาลัยสามารถดำเนินกิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจัดการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนดและเน้นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพและทันสมัย   มาใช้ โดยยึดหลักการบริหารแบบ “รวมบริการ ประสานภารกิจ”

 

ลักษณะองค์กร

ชื่อหน่วยงาน สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

ที่ตั้ง 

สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยทักษิณเป็นหน่วยงานที่ให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้แก่นิสิตและบุคลากร โดยแบ่งการบริหารงานเป็น 2 วิทยาเขตได้แก่ วิทยาเขตสงขลา ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 140 หมูที่ 4 ถนนกาญจนวนิช ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลาและวิทยาเขตพัทลุง ตั้งอยู่ที่ อาคารสำนักวิทยบริการ เลขที่ 222 หมู่ที่ 2  ตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง

 

ประวัติความเป็นมา

          สำนักคอมพิวเตอร์เป็นหน่วยงานบริการวิชาการ มีฐานะเทียบเท่าคณะ ได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฏาคม 2528 เริ่มต้นจากการเป็นศูนย์บริการทางการศึกษาและประมวลผลไมโครคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ศูนย์คอมพิวเตอร์ มศว สงขลาและศูนย์คอมพิวเตอร์ มศว ภาคใต้ จนกระทั่งเป็นสำนักคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน ตามลำดับและดำเนินงานด้วยค่าใช้จ่ายจากเงินงบประมาณรายได้ของมหาวิทยาลัย

            พ.ศ. 2529  มหาวิทยาลัยได้อนุมัติงบประมาณเงินรายได้ จำนวน 736,000.00 บาท  (เจ็ดแสนสามหมื่นหกพันบาทถ้วน) ให้ก่อสร้างอาคารที่ทำการหลังแรก ซึ่งเป็นอาคารชั้นเดียวมีพื้นที่ปฏิบัติการ    220 ตารางเมตร การก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนมีนาคา 2530

            พ.ศ. 2532  เริ่มได้รับอนุมัติให้บรรจุข้าราชการ คือตำแหน่งเจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์    ระดับ 3  และต่อมาก็บรรจุตำแหน่งพนักงานเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับ 2 เพื่อเป็นบุคลากรช่วยในการพัฒนาด้านคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย

            พ.ศ.2536  ได้รับงบประมาณแผ่นดิน จำนวน 24,668,000.00 บาท (ยี่สิบสี่ล้านหกแสนหกหมื่นแปดพันบาทถ้วน) เป็นงบประมาณผูกพันระยะเวลา 3 ปี เพื่อทำการก่อสร้างอาคารที่ทำการหลังใหม่ (อาคารปัจจุบัน) เป็นอาคาร 2 ชั้น มีพื้นที่ 2,793 ตารางเมตร การก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อเดือนมีนาคม 2538 และเปิดให้ใช้บริการในปีเดียวกัน

            พ.ศ. 2539  ได้รับการยกวิทยฐานะเป็นมหาวิทยาลัยทักษิณตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยทักษิณ พ.ศ.2539 ได้มีพระราชกฤษฏีกาจัดตั้งทบวงมหาวิทยาลัย พ.ศ.2541 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฏีกา เล่ม 115 ตอนที่ 89 ก ลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2541 หน้า 4-5 กำหนดให้       สำนักคอมพิวเตอร์ เป็นส่วนราชการหนึ่งในมหาวิทยาลัยทักษิณ ได้เริ่มดำเนินการมาเป็นปัจจุบัน

            พ.ศ. 2553  มหาวิทยาลัยทักษิณ มีการปรับโครงสร้างใหม่โดยแบ่งเป็น 2 วิทยาเขต คือ วิทยาเขตสงขลาและวิทยาเขตพัทลุง

            พ.ศ. 2554  มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารงาน ซึ่งประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักคอมพิวเตอร์ รองผู้อำนวยการสำนักคอมพิวเตอร์และหัวหน้าสำนักงานสำนักคอมพิวเตอร์ มีการดำเนินงาน 2 วิทยาเขต มีบุคลากรทั้งสิ้นจำนวน 41 คน

            พ.ศ. 2555  มีการบริหารงานโดยผู้อำนวยการสำนักคอมพิวเตอร์และหัวหน้าสำนักงานสำนักคอมพิวเตอร์ มีการดำเนินงาน 2 วิทยาเขต มีบุคลากรทั้งสิ้นจำนวน 41 คน


สภาพแวดล้อมขององค์กร

            ภารกิจหลักของหน่วยงาน 

สำนักคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่หลักในการให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์แก่นิสิตในการฝึกปฏิบัตินอกชั้นเรียน เพื่อให้นิสิตสามารถเรียนรู้และก้าวทันเทคโนโลยี โดยวิทยาเขตสงขลามีเครื่องคอมพิวเตอร์           ที่ให้บริการจำนวน 702 เครื่อง  วิทยาเขตพัทลุง จำนวน 444  เครื่อง  อีกทั้งยังมีหน้าที่พัฒนาระบบสารสนเทศในการบริหารงานเพื่อให้การปฏิบัติงานของบุคลากรมีประสิทธิภาพและหน้าที่ในการซ่อม บำรุงเครื่องคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย อีกทั้งมีหน้าที่ดูแลโครงสร้างพื้นฐานทั้งระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายโทรคมนาคม  ซึ่งถือว่าหน้าที่การให้บริการเป็นพันธกิจหลักของสำนักคอมพิวเตอร์ สำหรับลักษณะการทำงานนั้น สำนักคอมพิวเตอร์มีลักษณะการทำงานเป็นทีม ซึ่งประกอบด้วยบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักคอมพิวเตอร์มุ่งเน้นการให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์และพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยแก่นิสิตและบุคลากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนและการบริหารงานของบุคลากรเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกและส่งผลให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

ลักษณะที่สำคัญขององค์กร

ตารางแสดงลักษณะที่สำคัญขององค์กร

ปรัชญา

สั่งสมความรู้ มุ่งสู่ปัญญา พัฒนาสังคม ด้วยคุณธรรม

ปณิธาน

สำนักคอมพิวเตอร์มุ่งพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ บริการวิชาการและถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชน

วิสัยทัศน์

เป็นองค์กรหลักที่ให้บริการและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อนำมหาวิทยาลัย

สู่ความทันสมัย

พันธกิจ

1.จัดหาและให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน การค้นคว้าวิจัยและการบริหารงานภายในมหาวิทยาลัยทักษิณ

2.จัดหาและให้บริการโครงข่ายสื่อสารข้อมูลและโทรคมนาคมผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งภายในและภายนอกของมหาวิทยาลัย

3.พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย  เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน การวิจัย  ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และการบริหารงานมหาวิทยาลัย

4.บูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้สามารถนำระบบมาใช้ร่วมกันอย่างคุ้มค่าและพอเพียง

5. มีบริการวิชาการแก่สังคมเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

6. พัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนภารกิจหลักของสำนักคอมพิวเตอร์ เพื่อนำไป

สู่องค์กรสารสนเทศที่ทันสมัย

 

 

ยุทธศาสตร์การพัฒนา

ยุทธศาสตร์ที่ 1  ผลักดันให้มหาวิทยาลัยทักษิณเป็นมหาวิทยาลัยที่จัดหาและใช้สอยเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างพอเพียงและเกิดประโยชน์สูงสุด (Sustainability IT University: SIT-U)

ยุทธศาสตร์ที่ 2 ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การสื่อสารและโทรคมนาคมภายในมหาวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น

ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาระบบความปลอดภัยและบริหารความเสี่ยงของโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารและการบริการอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง

ยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา วิจัยและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

ยุทธศาสตร์ที่ 6 พัฒนานิสิต บุคลากรและบุคคลทั่วไป ให้มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ยุทธศาสตร์ที่ 7 พัฒนาสำนักคอมพิวเตอร์และทรัพยากรมนุษย์อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

มาตรการส่งเสริม

พัฒนาระบบสารสนเทศที่ทันสมัยเพื่อให้บริการด้านการเรียนการสอน การวิจัย  การบริหารงานให้มีประสิทธิภาพ

ค่านิยม

สำนักคอมพิวเตอร์ได้กำหนดค่านิยมขององค์กรไว้เป็น ‘iSmart” เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงสุด

i  = Integrity คือ มีความซื่อสัตย์ มีคุณธรรมจริยธรรม มีจิตสำนึกทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
S  = Service Mind คือ มีจิตใจพร้อมในการให้บริการ

m = Mastery คือ  มีความเป็นมืออาชีพ

a = Accountability คือ  มีความโปร่งใส ปฏิบัติงานอย่างซื่อสัตย์สุจริต

r = Relationship คือ มีน้ำใจ เปิดกว้างเป็นพี่เป็นน้อง

t = Teamwork  คือ มีการทำงานเป็นทีม ร่วมมือร่วมใจทำงานอย่างเต็มที่

 

สมรรถนะหลักขององค์กร

1.บุคลากรมีความรู้ความสามารถภายใต้ศาสตร์และองค์ความรู้ที่หลากหลายของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศอันเป็นปัจจัยในการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพและทันสมัย

2. บุคลากรมีความรู้ความสามารถ มีจิตสานึกที่ดีต่อการให้บริการพัฒนาตนเอง และพัฒนางานตลอดเวลา

3. การบริการเชิงรุก การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

วัฒนธรรมองค์กร

1.การเน้นการให้บริการที่มีคุณภาพและก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง

2.การใช้ทรัพยากรทุกประเภทให้เกิดประโยชน์สูงสุด

3.สนับสนุนคนดี คนเก่ง

4.พัฒนาสู่องค์กรแห่งคุณธรรม

5.พัฒนาสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อก้าวสู่องค์กรแห่งคุณภาพ

 

 

 

 

 

 

 

 

วัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาระบบสารสนเทศ

1. เพื่อวิเคราะห์ระบบสารสนเทศด้านการเรียนการสอน    การบริหารจัดการของมหาวิทยาลัย

2. เพื่อใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการพัฒนาระบบสารสนเทศด้านการเรียนการสอน    การบริหารจัดการ ของหน่วยงานต่างๆในมหาวิทยาลัย

3. เพื่อนำแผนการพัฒนาระบบสารสนเทศมหาวิทยาลัยมาใช้ประกอบการประกันคุณภาพการศึกษา


 ระบบสารสนเทศด้านการเรียนการสอน การบริหารมหาวิทยาลัยทักษิณ ในปี 2557

สำนักคอมพิวเตอร์ได้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศด้านการเรียนการสอน การบริหารงานมหาวิทยาลัย
โดยการวางแผนและดำเนินการร่วมกันในระดับมหาวิทยาลัยฯ และระดับหน่วยงานต่างๆในมหาวิทยาลัย ที่

ประกอบด้วยระบบสารสนเทศ ดังนี้

 ระบบสารสนเทศพื้นฐานมหาวิทยาลัย

 ระบบสารสนเทศด้านการเรียนการสอน มีระบบฐานข้อมูลนักศึกษา ฐานข้อมูลระบบงานทะเบียนและ

ประเมินผลการเรียน ฐานข้อมูลแผนการเรียน

 ระบบสารสนเทศด้านการบริหารจัดการ มีระบบฐานข้อมูลแผนงาน/โครงการ ฐานข้อมูลบุคลากร

 ฐานข้อมูลการพัฒนาบุคลากร ฝึกอบรม/ประชุม ฐานข้อมูลอาคารสถานที่ ยานพาหนะ

 ระบบด้านการวิจัย มีระบบฐานข้อมูลทุน/โครงการวิจัย ฐานข้อมูลการติดตามทุนวิจัย

 ระบบด้านการเงิน มีระบบฐานข้อมูลบัญชี 3 มิติ (3D-GF)

 ระบบด้านประกันภาพการศึกษา  มีระบบฐานข้อมูลการประกันคุณภาพการศึกษา
              เพื่อให้การดําเนินการด้านระบบสารสนเทศดําเนินไปตามยุทธศาสตร์ของสำนักฯ ที่มุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนและการบริหารงานได้แบ่งกลยุทธ์ออกเป็นกรอบการทํางาน 5 ข้อ ดังต่อไปนี้

1. การพัฒนาและดูแลด้านเว็บไซต์
2. พัฒนาระบบฐานข้อมูลนิสิตและบุคลากร
3. พัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการเรียนการสอน
4.พัฒนาระบบฐานข้อมูล
เพื่อการบริหารและตัดสินใจ
5.พัฒนาระบบสำรองข้อมูลสารสนเทศ

 

 

 

 

 

สภาพแวดล้อมด้านระบบสารสนเทศ

องค์ประกอบหลัก

จุดแข็ง/ข้อได้เปรียบ

จุดอ่อน/ปัญหา

ปัจจัยด้านฮาร์ดแวร์

1.มีการจัดหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง

1.ขาดการวางแผนบูรณาการด้านอุปกรณ์ให้สามารถใช้งานร่วมกันได้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้งาน
2.เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์เปลี่ยนแปลงไปรวดเร็วมากทำให้อุปกรณ์หลายอย่างที่มีอยุ่ล้าสมัยไปอย่างรวดเร็ว

ปัจจัยด้านซอฟท์แวร์

1.มีซอฟท์แวร์ลิขสิทธิ์ใช้งาน

1.ไม่มีซอฟท์แวร์ลิขสิทธิ์ใช้งานเฉพาะทางที่ครอบคลุมการทำงานทุกส่วน

ปัจจัยด้านบุคคล

1.ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์รวมถึงให้การสนับสนุนส่งเสรอมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาพัฒนาการทำงาน
2.บุคลากรส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการทำงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ

1.ผู้บริหารต้องรับผิดชอบงานที่หลากหลายทำให้ไม่สามารถใช้งานระบบสารสนเทศที่มีอยู่ได้เต็มที่

2.บุคลากรบางส่วนขาดทักษะและทัศนคติที่ดีต้อการทำงานด้วยระบบสารสนเทศ

3.ขาดบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

ปัจจัยด้านระบบเครือข่าย

1.ระบบเครือข่ายของมหาวิทยาลัยได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยโดยสามารถให้บริการได้ครอบคลุมทั้งมหาวิทยาลัย

2.ระบบเครือข่ายไร้สายให้บริการได้ครอบคลุมทุกพื้นที่

1.ระบบเครือข่ายขาดเสถียรภาพในการใช้งานบางช่วงเวลา

2.ระบบเครือข่ายไร้สายไม่สามารถใช้งานตามปกติหากผู้ใช้บริการมีจำนวนมาก

 

 

 

 

 

 

 

แผนพัฒนาระบบสารสนเทศ ประจำปีงบประมาณ 2557

กรอบการทำงาน

โครงการ/กิจกรรม

ระยะเวลาดำเนินการ

งบประมาณ

ผู้รับผิดชอบ

1. การพัฒนาและดูแลด้านเว็บไซต์

1.พัฒนาเว็บไซต์มหาวิทยาลัยและหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย

2.พัฒนาเว็บไซต์มหาวิทยาลัย(ภาษาอังกฤษ)

 1 ต.ค.56-30 ก.ย.57

 

 

 

1 ต.ค.56-30 ก.ย.57

 

 

       15,000

 

 

 

           -

กลุ่มภารกิจพัฒนาระบบฯ

 

กลุ่มภารกิจพัฒนาระบบฯ

2. พัฒนาระบบฐานข้อมูลนิสิตและบุคลากร

1.พัฒนาระบบลงชื่อเข้าร่วมกิจกรรมด้วยลายนิ้วมือ
2.พัฒนาระบบงานลงทะเบียน
3.พัฒนาระบบลายนิ้วมือ

1 ต.ค.56-30 ก.ย.57

 

 

1 ต.ค.56-30 ก.ย.58

 

1 ต.ค.56-30 ก.ย.57

         -

 

 

         -

 

         -

กลุ่มภารกิจพัฒนาระบบฯ

 

กลุ่มภารกิจพัฒนาระบบฯ

กลุ่มภารกิจพัฒนาระบบฯ

3. พัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการเรียนการสอน

1.พัฒนาสื่อการเรียนการสอนและถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชน
2.พัฒนาแหล่งเรียนรู้เสมือนจริง โบราณสถานคาบสมุทรสะทิ้งพระ บนโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์แท็บเล็ต
3.พัฒนาระบบโลกเสมือนจริงเพื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ

4.โครงการพัฒนาและปรับปรุงระบบ TSU-Learning

1 ต.ค.56-30 ก.ย.57

 

 

1 ต.ค.56-30 ก.ย.57

 

 

 

 

1 ต.ค.56-30 ก.ย.57

 

 

1 ต.ค.56-30 ก.ย.57

         -

 

 

         -

 

 

 

 

         -

 

 

         -

กลุ่มภารกิจบริการฯ

 

กลุ่มภารกิจบริการฯ

 

 

 

กลุ่มภารกิจบริการฯ

 

กลุ่มภารกิจบริการฯ

 

 

4.พัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหารและตัดสินใจ

 

1.พัฒนาระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์
2.พัฒนาระบบรับสมัครพนักงานออนไลน์
3.พัฒนาระบบฐานข้อมูลองค์ความรู้ภูมิปัญญา
4.พัฒนาระบบการเงินรับ
5.พัฒนาระบบแจ้งซ่อมและระบบ
Call Center
6.พัฒนาระบบจัดการแผนปฏิบัติการ(e-Plan)
7.พัฒนาระบบสถิติการใช้งานระบบ
MIS ด้วย Google Apps

8.พัฒนาระบบ Performance Monitoring

9.พัฒนาระบบฐานข้อมูล TQF
10.โครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการโครงการบริการวิชาการ

11.โครงการพัฒนาระบบ e-QA มหาวิทยาลัย

12.พัฒนาและปรับปรุงระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์

13.ปรับปรุงระบบ e-Touring
14.การวิเคราะห์ สังเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคการใช้งานระบบบริหารจัดการเรียนรู้มหาวิทยาลัยทักษิณ

1 ต.ค.56-30 ก.ย.57

 

1 ต.ค.56-30 ก.ย.57

 

1 ต.ค.56-30 ก.ย.57

 

1 ต.ค.56-30 ก.ย.57

1 ต.ค.56-30 ก.ย.57

 

1 ต.ค.56-30 ก.ย.57

 

1 ต.ค.56-30 ก.ย.57

 

 

1 ต.ค.56-30 ก.ย.57

 

1 ต.ค.56-30 ก.ย.57

 

1 ต.ค.56-30 ก.ย.57

 

 

1 ต.ค.56-30 ก.ย.57

 

1 ต.ค.56-30 ก.ย.57

 

 

1 ต.ค.56-30 ก.ย.57

 

1 ต.ค.56-30 ก.ย.57

 

 

 

 

 

          -

กลุ่มภารกิจพัฒนาระบบฯ

 

5.พัฒนาระบบสำรองข้อมูลสารสนเทศ

1.พัฒนาระบบสำรองข้อมูล

1 ต.ค.56-30 ก.ย.57

         -

กลุ่มภารกิจพัฒนาระบบฯ